เรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจของ คาลาทราวา

Collector’s Guides • 23 Sep 2020

เรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจของ คาลาทราวา


เรื่องราวของนาฬิกาคอลเลกชั่นเรือธงแห่ง ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philppe) อย่าง คาลาทราวา (Calatrava) นั้นเป็นมากกว่าเรื่องราวใดๆ ของความกล้าอย่างแท้จริง ท่ามกลางการเผชิญกับหลากหลายเหตุการณ์ ทั้งสงครามโลก การเปลี่ยนมือเจ้าของ และการล่มสลายของเศรษฐกิจครั้งใหญ่กว่าจะได้มาถึงยังจุดที่เราอยู่ ณ วันนี้ ด้วยการเอาตัวรอดในช่วงเวลาอันสับสนอลหม่านที่พลิกกลายเป็นเรื่องราวความสำเร็จของตนเอง พร้อมทั้งพิสูจน์ว่าปาเต็กสามารถหยัดยืนลุกขึ้นสู้ ปัดฝุ่น และเผยโฉมด้วยหลากหลายนาฬิกาแห่งความสำเร็จอันกล้าแกร่งทั้งทางการค้า ความสวยงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีอันแสนพิเศษได้ในชั่วพริบตา และนี่คือเรื่องราวของ คาลาทราวา

สงครามและเศรษฐกิจตกต่ำ

นอกจากสร้างชื่อเสียงในการผลิตนาฬิกาพกของตนเองแล้ว ในบางโอกาส ปาเต็กยังได้สร้างสรรค์นาฬิกาข้อมือขึ้นเช่นกัน โดยจริงๆ แล้ว โรงงานการผลิตแห่งนี้ได้รับความไว้วางใจให้ประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือสวิสเรือนแรกๆ ขึ้นนับย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868เพื่อมอบให้กับท่านเคานท์หญิงกอสโควิกซ์แห่งฮังการี (Hungarian Countess Koscowicz) ซึ่งก่อนหน้าช่วงเวลาของเธอนั้น นาฬิกาเรือนเล็กๆ นี้ได้ประกอบอยู่บนกำไลทองอันสวยเด่น และแตกต่างไปจากบรรดานาฬิกาพกหรือเข็มกลัดที่เป็นเครื่องประดับอันร่วมสมัยชิ้นอื่นๆ ของเธอ กระทั่งนาฬิกาข้อมือได้กลายเป็นที่นิยมในยุคแรกๆ ท่ามกลางอิสตรี และต้องขอบคุณสงคราม ที่นาฬิกาข้อมือเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกันในหมู่สุภาพบุรุษ ด้วยเพราะนาฬิกาพกไม่อาจแข่งกับประโยชน์การใช้งานของนาฬิกาข้อมือได้ขณะที่พวกเขาต้องออกไปอยู่ท่ามกลางสมรภูมิ และเมื่อเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (WWI) นาฬิกาข้อมือได้ถูกบันทึกบัญชีรายการไว้ประมาณ 7% จากยอดการผลิตทั้งหมด

นาฬิกาของท่านเคานท์หญิงกอสโควิกซ์

นาฬิกาสุภาพบุรุษในยุคแรกเริ่ม ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่านาฬิกา ออฟฟิเซอร์ (Officers) เหล่านี้ล้วนเป็นนาฬิกาจี้ที่สามารถเปลี่ยนไปใส่บนข้อมือได้ ขณะที่การสวมใส่นาฬิกายังคงนับเป็นเรื่องใหม่ และสงครามถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สร้างให้เราหันมาสร้างความสนใจและนำเสนอนาฬิการูปแบบใหม่ให้กับพวกเขามากกว่านาฬิกาพก ทว่า ในเวลาเดียวกัน สงครามก็กลายเป็นปรปักษ์ต่อธุรกิจ จากการค้านาฬิกาหรูที่ได้รับผลกระทบจนถึงขั้นหยุดชะงัก ความเป็นปรปักษ์อันยืดเยื้อ บวกกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคที่สั่นคลอนจึงไม่อาจทำให้ธุรกิจกลับฟื้นคืนมาได้ แต่ท่ามกลางฉากอันแสนสิ้นหวังนี้ ปาเต็กก็ยังคงยืนหยัดตลอดระยะเวลาหลายปีในการเดินหน้าสู่การเปิดตัวนาฬิกา คาลาทราวา เรือนแรกขึ้น พร้อมทั้งสร้างก้าวใหม่ให้กับนาฬิกาข้อมืออันแสนพิเศษ (และเปี่ยมด้วยนวัตกรรม) และเป็นในปี ค.ศ. 1923 ที่นาฬิกากลไกหมายเลข 124 824 (Movement no. 124 824) ถือเป็นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกที่มาพร้อมจักรกลโครโนกราฟสปลิต-เซกันด์ส (split-seconds chronograph) ขณะที่ราวปี ค.ศ. 1924 นาฬิกาข้อมือได้ถูกบันทึกบัญชีการผลิตไว้ถึง 28% และเป็นยอดตัวเลขสูงสุดในปีถัดมา (ค.ศ. 1925) ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ปาเต็ก ฟิลิปป์ เปิดตัวกลไกหมายเลข 97 975 (Movement no. 97 975) ในฐานะนาฬิกาข้อมือเพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ (perpetual calendar) เรือนแรกๆ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นการพัฒนาปรับปรุงมาจากนาฬิกาจี้ของสุภาพสตรีในปี ค.ศ. 1898 จวบจนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1928 การผลิตนาฬิกาข้อมือ ณ ปาเต็ก ก็ตกลงสู่จุดต่ำสุดที่ 13% ของยอดการผลิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับที่อุตสาหกรรมนาฬิกาโดยรวมนั้นอยู่ในวิกฤติช่วงปี ค.ศ. 1930

นาฬิกาข้อมือ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ เรือนแรกของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ (ค.ศ. 1925, หมายเลข 97 975)

ด้วยการกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งของตลาดบราซิลและยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ตลาดอเมริกาเองก็ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นแหล่งการค้าหลักสำหรับแบรนด์ผู้ผลิตแห่งเจนีวารายนี้ โดยได้รับเสียงตอบรับที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดอเมริกา ซึ่งนั่นช่วยชดเชยความสูญหายในตลาดอื่นๆ กระทั่งอเมริกาและโลกต้องเผชิญกับการล่มสลายของวิกฤติตลาดหุ้นในปี ค.ศ. 1929 ที่ต่อมาได้กลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ด้วยสต็อกที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับยอดขายที่ลดลง และหนี้สินอันมหาศาลของปาเต็ก สถานการณ์จึงเริ่มดิ่งเหวและมืดมนลงเรื่อยๆ จนกระทั่งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ปะทุขึ้น รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงเริ่มวาดภาพอันน่าวิตก กระนั้นก็ยังมีบางสิ่งที่คล้ายว่าจะเป็นความหวังเหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจค่อยๆ ผ่านไป บรรยากาศก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญ รวมถึงแนวโน้มความตกต่ำของตลาดอันไม่อาจยับยั้งได้ก็สร้างการคุกคามอย่างมากต่อการเริ่มต้นฟื้นคืนมาใหม่ของธุรกิจสำหรับผู้ผลิตรายนี้ ที่ปาเต็กเองก็ต้องหาหนทางเพื่อหาผู้ซื้อ

การนำของครอบครัวสเติร์น

ชาร์ลส อองรี (Charles Henri) และฌอง สเติร์น (Jean Stern) (แห่ง สเติร์น เฟรเรส (Stern  Frères)) ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โดยการตัดสินใจของเอเดรียน ฟิลิปป์ (Adrien Philippe) และคณะกรรมการร่วมของเขา จากการเสนอราคาของเลอคูลทร์ (LeCoultre) (ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของกลไกเปล่า (ébauches) ให้กับปาเต็ก) สำหรับพี่น้องสเติร์น (Stern brothers) แล้ว พวกเขารู้ดีถึงวิธีการสร้างสรรค์หน้าปัดนาฬิกาที่ตกแต่งได้อย่างสวยงาม และครองสถิติการดำเนินธุรกิจมาด้วยความสำเร็จตลอดหนึ่งในช่วงแห่งการทดสอบทางการเงินอันสำคัญสูงสุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ โดยมีคำเพียงคำเดียวที่สรุปได้ดีถึงครอบครัวสเติร์น นั่นก็คือ ความกล้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ขับเคลื่อนและสืบทอดอยู่ภายในครอบครัวนี้เสมอ

ภาพโฆษณาของโรงงาน ฟาบริค เดอ กาแดรงส์ สเติร์น เฟรเรส ในปี ค.ศ. 1931

โรงงานผลิตหน้าปัดของพี่น้องสเติร์นก่อตั้งขึ้นโดยบิดามารดาของพวกเขา จากฝีมือของสองนักวาดภาพลงยาขนาดจิ๋วเพื่อการค้า (อองรี (Henri) และลูอิส สเติร์น (Louise Stern)) โดยหลังจากโรคปอดบวมได้คร่าชีวิตของอองรี ก็เป็นลูอิสและบรรดาบุตรของเธอที่ได้รับช่วงธุรกิจต่อ พร้อมกับเดินหน้าสานต่อในสิ่งที่พวกเขาทำ ซึ่งหลังจากซื้อกิจการปาเต็ก นับเป็น 4 ปีอันแสนหนักหน่วงกว่าที่บริษัทจะมีกำไรอีกครั้งในปี ค.ศ. 1936 ที่ไม่เพียงต้องตัดค่าใช้จ่ายและพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของบริษัท แต่พวกเขายังเลือกที่จะเดินหน้าลงทุนต่อ โดยเฉพาะการคาดการณ์อนาคตและมองการณ์ไกลในการลงทุนไปกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ๆ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงดิ่งหนักของภาวะถดถอยครั้งใหญ่ และขณะที่ขายสต็อกเก่า การตัดสินใจอันหนักแน่นมากมายก็ได้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับการเดินหน้ายกเครื่องกระบวนการผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยครอบครัวสเติร์นยังคงยึดมั่นและตั้งใจที่จะยกระดับคุณภาพขึ้นเป็นสองเท่า อย่างที่ไม่มีข้อผ่อนปรนใดๆ เพื่อนำทางไปสู่ความล้ำเลิศ และหลังจากนั้น จากนาฬิกาข้อมืออันประณีตวิจิตรกับตัวเรือนที่หนากว่าก็ได้พลิกผันมาสู่งานออกแบบใหม่ที่เรียบง่ายและบางขึ้น

Reference 96

ระบบที่ให้ความรู้สึกได้ถึงการสั่งซื้อและลำดับซึ่งวางไว้โดยพี่น้องสเติร์นนี้ไม่เพียงเป็นการจำกัดการผลิตและการจัดจำหน่าย แต่ยังนับเป็นครั้งแรกที่การเรียกชื่อได้ถูกเปิดตัวแนะนำสู่การจัดประเภทของนาฬิกาข้อมือ ซึ่งนับจากปี ค.ศ. 1897 จนถึงปี ค.ศ. 1932 ระบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เป็นการใช้คำอธิบายจากข้อมูลหมายเลขต่างๆ ทั้งบนกลไกและตัวเรือนเพื่อระบุนาฬิกาแต่ละรุ่นก่อนหน้านี้  กระทั่งชื่อได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นบทเรียนที่เรียนรู้มาจากเหล่าผู้ผลิตรายใหม่ๆ ในแวดวงการผลิตนาฬิกาข้อมือ โดย ณ ราวๆ ช่วงเวลาเดียวกัน หากคุณได้เข้าไปเยือนบูติก และถามหานาฬิกา “ออยสเตอร์” (“Oyster”) คุณก็อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยไปกับการค้นหา แต่เมื่อแทนที่ด้วยคำคำเดียวแบบง่ายๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องจดจำตัวเลขหรือเรียกดูคำอธิบายเกี่ยวกับนาฬิกานั้นๆ ของผู้ผลิตอีกต่อไป และนั่นเองที่ทำให้ชื่อสามารถสร้างการสั่งซื้อได้

โดยนาฬิกาเรือนแรกซึ่งผลิตขึ้นจากตัวเรือนสตีล หมายเลขอ้างอิง 96 (Ref. 96) ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1932 ก็ทำในสิ่งเดียวกันนั้น กับความชัดเจนและไม่สร้างความสับสนของการเรียกชื่อรุ่นที่ยังขยายครอบคลุมไปถึงความสวยงามของนาฬิกา ด้วยตัวเรือนทรงกลม บรรจุเครื่องหมายทรงบาตอง (baton) หรือเครื่องหมายบอกชั่วโมงแบบตัวเลข และหน้าปัดย่อยแสดงวินาทีเล็กที่ 6 นาฬิกา คือสิ่งที่นาฬิกาเรือนนั้นๆ ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้อย่างชัดเจน นั่นคือการบอกเวลา และนับเป็น (เหมือนกับที่คอลเลกชั่น คาลาทราวา ก็ยังคงเป็นอยู่) ตัวอย่างอันยอดเยี่ยมถึงรูปแบบที่เดินตามฟังก์ชั่น โดยรุ่นแรกๆ นั้นบรรจุไว้ด้วยกลไก เจแอลซี 12-ลิญจ์ (JLC 12-linge) จวบจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1934 ปาเต็กได้ตัดสินใจที่จะติดตั้งกลไกผลิตภายในโรงงานของตนคาลิเบอร์ใหม่ คือ 12”120 ไว้ภายในนาฬิกาหมายเลขอ้างอิง 96 และเรื่องราวของคาลาทราวาก็ได้เริ่มต้นขึ้น

Patek Philippe Calatrava Reference 96

หมายเลขอ้างอิง 96ได้อุทิศหลากหลายความเคารพต่อการหวนคืนสู่รูปแบบ โดยปาเต็กจะไม่นำกลไกนาฬิกานอกโรงงานมาใช้อีก แต่พวกเขาเลือกที่จะออกแบบกลไกนาฬิกาซึ่งผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนเอง (in-house) อันล้ำเลิศมาใช้ทดแทน เพื่อตอบรับกับการเติบโตมากขึ้นของนาฬิกาข้อมือ บทบาทความสำคัญของ คาลาทราวา หมายเลขอ้างอิง 96 จึงไม่อาจมองข้าม เพราะไม่เพียงช่วยให้พี่น้องสเติร์นสามารถรักษาธุรกิจไว้ได้ แต่พวกเขายังได้เปิดตัวแนะนำนาฬิการุ่นใหม่พร้อมด้วยกลไกชุดใหม่ กับความสวยงามแห่งภาษาการออกแบบใหม่ โดยรุ่นดั้งเดิมของหมายเลขอ้างอิง 96 ภายใต้สไตล์เบาเฮาส์ (Bauhaus) กับแรงบันดาลใจของความสวยงามและความสามารถในการแสดงเวลาต่างๆ ได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อดึงดูดใจผู้คนวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากความทุ่มเททำงานอย่างตั้งใจภายในห้องปฏิบัติการของพวกเขาที่ได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน และนับจากปี ค.ศ. 1934 จนถึง ค.ศ. 1939 แบรนด์ได้เปิดตัวแนะนำกลไกใหม่ถึง 10 คาลิเบอร์ ที่แม้ด้วยมาตรฐานของวันนี้ กับงานออกแบบซึ่งมีคอมพิวเตอร์ช่วย การสร้างสรรค์กลไกได้ถึง 10 คาลิเบอร์ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปีนั้นก็ยังคงนับเป็นความน่าทึ่งอย่างมาก ด้วยแรงผลักดันและพลังขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากนาฬิกายุคแรกเริ่มนี้จึงทำให้ คาลาทราวา กลายเป็นหนึ่งในคอลเลกชั่นอันยืนยาวสูงสุดในประวัติศาสตร์แห่งนาฬิกาข้อมือ และกลายเป็นเรือนเวลาเอกลักษณ์ของปาเต็ก ฟิลิปป์ นี่เองที่ตำนานได้ถือกำเนิดขึ้น

Patek Philippe 5196R-001

อิทธิพลของหมายเลขอ้างอิง 96 ยังคงซ่อนอยู่ในนาฬิกา คาลาทราวา ยุคปัจจุบันทั้งหมด ทว่า รุ่นที่มีความเชื่อมโยงโดยตรงสู่รูปแบบที่เดินตามรหัสงานออกแบบจากรุ่นดั้งเดิมมากที่สุดนั้นก็คือ หมายเลขอ้างอิง 5196 (References 5196) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สืบทอดความสำเร็จนี้อย่างแท้จริง โดยหมายเลขอ้างอิง 5196 เปิดตัวแนะนำขึ้นในปี ค.ศ. 2004 และมีให้เลือกกับตัวเรือนเยลโล่โกลด์ โรสโกลด์ ไวท์โกลด์ และแพลทินัม (ด้วยหมายเลขอ้างอิง 5196J-001, 5196R-001, 5196G-001 และ 5196P-001 ตามลำดับ) ซึ่งในเรือนคู่ขนานกับต้นตำนานเหล่านี้ได้ผ่านการพัฒนาปรับปรุงเล็กน้อยอย่างชัดเจน โดยติดตั้งอยู่ภายในตัวเรือนขนาดร่วมสมัย 37 มม. ด้วยกลไกตกแต่งอย่างสวยงามของคาลิเบอร์ 215พีเอส (Calibre 215 PS) พร้อมทั้งการแสดงวินาทีเล็ก ซึ่งนับเป็นการอุทิศอย่างสมบูรณ์แบบให้กับรุ่นดั้งเดิม แต่ยังคงไว้ซึ่งความทันสมัยอย่างแท้จริง

Tags: 5196g-001 5196j-001 5196r-001 calatrava patek patek philippe


We’re here to help


Loading Consult A Specialist Form

Change Country

Select your country:

Share

Share via:

To find out more about our available positions, please visit our Careers page.